แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟังของผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่น

แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟังของผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่น

Monday, September 6, 2010

ข่าวสารความเคลื่อนไหวอื่นๆเกี่ยวกับการมัธยม (ก็ว่ากันไป)

ก.ค.ศ.ห่วงงานเขตมัธยมฯล้น ชี้กฎหมายเปิดช่องผอ.สพท.นั่ง "ผอ.สพม."
หวั่นอ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯภาระหนัก-ทำล่าช้า


นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวิสามัญ (อ.ก.ค.ศ.) ที่ทำหน้าที่แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานัดแรกเมื่อเร็วๆ นี้ ตนในฐานะผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้เสนอในที่ประชุมว่า อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ มีภาระหน้าที่ใหญ่มาก เพราะต้องดูแลข้าราชการครูมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ดังนั้น สิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องนี้ ควรจะต้องมีคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดูแลครูมัธยมศึกษาทั่วประเทศ และต้องดูว่าจะสามารถทำงานได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด เพราะงานทุกอย่างมารวมอยู่ที่เดียวทั้งหมด โดยเฉพาะในช่วงนี้จะมีการโยกย้ายผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ แทนตำแหน่งผู้ที่เกษียณอายุราชการด้วยโดยอำนาจต่างๆ อยู่ที่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดนี้หมดจึงมีความจำเป็นที่ สพฐ.จะต้องวางแนวทางต่างๆ ให้ดีเพื่อไม่เกิดปัญหาตามมา
รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ตนยังได้เสนอในที่ประชุมให้ สพฐ.ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่งมีผู้แทน ก.ค.ศ.เป็นที่ปรึกษาเพื่อเข้ามาดูหลักเกณฑ์การย้ายผู้บริหาร ครูผู้สอนสายมัธยมศึกษาที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้งานลงตัวเร็วขึ้นดีกว่าหารือกันเป็นเรื่องๆ กับ ก.ค.ศ.เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการที่ภาระของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯค่อนข้างจะหนักมาก เพราะด้วยกรอบระยะเวลา 180 วันที่กำหนดไว้ทำให้อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯจะต้องพิจารณาเรื่องๆ ต่างมากมายในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อาทิ วิทยฐานะ การโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา การเลื่อนตำแหน่ง การแต่งตั้งบรรจุข้าราชการครู การพิจารณาเรื่องวินัย เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมาขออนุมัติจาก อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดนี้ ดังนั้น น่าจะทำให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาแต่ละเรื่อง และที่สำคัญจะทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับผลกระทบจากความ ล่าช้าดังกล่าวได้
"ส่วนตัวเห็นว่าภาระงานหลายเรื่องควรให้เขตพื้นที่การศึกษาเดิมพิจารณา เรื่องที่ค้างคาอยู่ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยเสนอมาที่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ เพราะขณะนี้ 42 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอาจจะยังไม่มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบงานต่างๆ เฉพาะเรื่องงานธุรการก็มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมาก เช่น การขอคำรับรองเงินเดือน การขอทำบัตรประจำตัว" นายพิษณุกล่าว และว่า สำหรับกรณีที่ สพฐ.ระบุว่า ผู้ที่เคยเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิมสามารถที่จะแต่ง ตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ได้โดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการสรรหาคัดเลือกนั้นตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 38 สามารถดำเนินการได้โดยสามารถย้ายมาเป็น ผอ.สพม.ได้เลยโดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ สพฐ.



ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 6 กันยายน 2553

No comments:

Post a Comment