แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟังของผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่น

แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟังของผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่น

Monday, September 6, 2010

ตัวอย่างการจัดทำเอกสาร การประชุมและการบริหารบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

จัดไป...ตามลิงค์

ร่างวาระการประชุม เอกสารการบริหารงานบุคคล

ส่วนลิงค์นี้เขาให้มาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2553 มีหนังสือนำเรื่องการบริหารบุคคลด้วย คือเบอร์โทรประสานงานเรื่องต่างๆโดยตรง ทั้งเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง การดำเนินการทางวินัย การเลื่อนวิทยฐานะฯลฯ คลิ๊กไปดูกัน

หนังสือนำเรื่องการบริหารบุคคลและร่างวาระประชุมฯอ.ก.ค.ศ.วิสามัญ

ลิงค์นี้เป็นกฏ ก.ค.ศ.ใหม่ ชื่อว่า กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับพ.ศ. 2553 ชื่อยาวและอ่านฟังยากอีกต่างหาก


กฏ ก.ค.ศ.ว่าด้วยเงินเดือนฯ2553

ส่วนบทความด้านล่างนี้เป็นของแถมด้วยมุมมองของนักวิชาการตามมหาวิทยาลัยฯอ่านแล้วก็ต้องใช้วิจารณญาณและพิจารณาดูว่ามันจริงของเค๊าไหม แล้วท่านเจ้าของบทความไม่อยากรู้เหรอครับว่าครูประถมศึกษาและครูมัธยมศึกษาเขาโทษใครก่อนหน้านั้น
.................................................................................
ศ.ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยที่ยังล้มเหลวว่า การจัดระบบการเรียนการสอนโดยเฉพาะในระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย ยังทำให้เด็กไทยมีพื้นฐานการเรียนรู้ไม่แน่น การเข้าสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเน้นการสอนให้เด็กเข้าใจการเรียนอย่างมีเหตุผล จึงไม่ประสบผลสำเร็จ ดังที่หวังให้ผู้เรียนจบการศึกษาออกไปประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่ามีเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายจำนวนมากที่ยังอ่าน หนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ สาเหตุเพราะครูผู้สอนไม่มีเวลาให้กับเด็กอย่างจริงจัง และระบบการสอนก็ไม่ตรงกับการใช้ชีวิตจริง หากปล่อยให้การศึกษาไทยเป็นไปเช่นนี้ต่อไป จะเกิดผลร้ายกับระบบการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพบุคลากรของประเทศ ดังนั้น ต้องเร่งแก้ไขการศึกษาไทยให้ดีขึ้นโดยยึดหลัก 3 ประการ คือ ครูต้องเป็นผู้รู้ มีความตั้งใจสอนลูกศิษย์ และไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ หรือการทำผลงาน เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่

"ในประเทศที่การศึกษามีความก้าวหน้า อย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ญี่ปุ่น หรือเวียดนาม อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีรายได้สูง ทำให้ครูตั้งใจสอนศิษย์อย่างจริงจัง ไม่ต้องห่วงเรื่องภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ต้องมานั่งทำผลงานสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ ทำให้ครูในประเทศเหล่านี้สนใจในกระบวนการสอนนักเรียนให้เข้าใจจนมีความรู้ อย่างแท้จริง ดังนั้น ในประเทศไทยควรปรับเรื่องกระบวนการสอนที่มุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตน เอง เพื่อนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ให้ผู้เรียนอยู่แต่ในห้องเรียนทั้งวัน แต่อีกครึ่งวันจะปล่อยให้เด็กที่เข้าเรียนวันนั้นนำทฤษฎีที่ได้รับจากครูผู้ สอนไปทดลองใช้ในชีวิตประจำวัน หรือไปเรียนรู้เพิ่มเติมกับผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองคือครูในชีวิตจริงของเด็ก ที่ต้องเรียนรู้กระบวนการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งหากการศึกษาไทยไม่ปรับกระบวนแนวคิดการสอนใหม่เช่นนี้ จะเป็นผลเสียต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งหมายรวมไปถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตด้วย" อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกล่าว



ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

No comments:

Post a Comment