แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟังของผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่น

แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟังของผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่น

Tuesday, September 14, 2010

ปฏิบัติหน้าที่ผอ.สพม. ง า น เ ข้ า .......ไม่มีใบประกอบวิชาชีพฯ

หลายคนทีเดียว ไม่มีใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา สพฐ.ชงเรื่องให้ผิด...งามไส้

ครูโวย สพฐ.ตั้งผู้ไร้ใบประกอบวิชาชีพผู้บริหาร นั่ง ผอ.สพม. “องค์กร” โยน สพฐ.ชงเรื่องมาผิด รับพลาดเองอนุมัติให้ พร้อมถอนการอนุญาต ฝากส่งเรื่องมาใหม่ แยกชัดคุณสมบัติครบ ไม่ครบ
วันนี้ (14 ก.ย.) นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า จากกรณีที่ชมรมองค์กรเครือข่ายวิชาชีพครู 4 ภูมิภาค ได้ยื่นหนังสือทักท้วงให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาตรวจสอบ กรณีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แต่งตั้งผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ไปปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ว่า เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 นั้น ตนได้ดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวแล้ว พบว่า สพฐ.ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดเรื่อง ขออนุญาตให้ผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯโดยปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สพม.จำนวน 41 ราย ตั้งแต่วันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ หรือจนกว่าจะมีการแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่งมาแทน และรองเลขาธิการคุรุสภาก็ได้ออกหนังสืออนุญาตตามที่เสนอขอมาแล้ว แต่เมื่อมีผู้ท้วงติงจึงได้มาตรวจสอบอีกครั้ง และพบว่า การทำหนังสือขออนุญาตของ สพฐ.ไม่ถูกต้อง เนื่องจากในจำนวน 41 ราย มีผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯถึง 34 ราย ดังนั้น สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะทำหนังสือยกเลิกการอนุญาตของคุรุสภา และให้ สพฐ.ทำเรื่องขออนุญาตมาใหม่ให้ถูกต้องอีกครั้ง
“ส่วนตัวคิดว่า การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สพม.ครั้งนี้ไม่น่าจะถูกต้องในหลักการ และไม่เหมาะสม เพราะปัจจุบันมี ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รอง ผอ.สพท.และผู้ที่สอบขึ้นบัญชีได้ ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาไปแล้วกว่า 2,000 คน ก็ควรพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติครบก่อน แต่หากคิดว่า นำ รอง ผอ.สพท.ที่ไม่มีสายเลือดทางมัธยมไปดูแล สพม.ไม่ได้ แล้วมีการแต่งตั้งแบบข้ามหัว ก็จะทำให้เกิดการแตกแยก ทำให้ครูทะเลาะกัน อีกทั้งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาก็ไม่ได้แบ่งแยก ว่า เป็นการบริหารในระดับประถม หรือมัธยม ถ้าเป็นการศึกษาที่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีก็บริหารได้ทั้งนั้น ทั้งนี้ หากมีการฟ้องร้องภายหลังผู้แต่งตั้งก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ” เลขาธิการคุรุสภา กล่าว
นายองค์กร กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่ชมรมองค์กรเครือข่ายครูฯ ระบุว่า ถ้าสอบครูได้แต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูก็ไม่สามารถบรรจุได้ แต่ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งดูแลทั้งครูและผู้บริหารโรงเรียน เมื่อไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา กลับสามารถแต่งตั้งให้เป็น ผอ.สพม.ได้ ซึ่งถือว่าคุรุสภาพิจารณาแบบสองมาตรฐานนั้น ยืนยันว่า คุรุสภาไม่ได้พิจารณาเรื่องการประกอบวิชาชีพควบคุมแบบสองมาตรฐาน แต่เรื่อง ผอ.สพม.เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งเมื่อ สพฐ.ชงเรื่องมาผิด การอนุมัติก็ผิดพลาดตามไปด้วย และขณะนั้นตนติดราชการต่างจังหวัด รองเลขาธิการคุรุสภาก็ได้อนุมัติให้ แต่เมื่อรู้ว่าผิดพลาดตนก็จะถอนการอนุญาตฯ และให้ สพฐ.ทำเรื่องมาใหม่ โดยแยกแยะให้ชัดเจนว่า กลุ่มใดมีคุณสมบัติครบแล้ว และกลุ่มใดยังมีคุณสมบัติไม่ครบ ไม่ใช่ขอยกเว้นมาแบบยกโหล และในการขออนุญาตก็จะต้องมีการกำหนดว่าจะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้มีคุณสมบัติ ครบตามใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาภายใน 2 ปี เช่นเดียวกับการขออนุญาตให้แก่ผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการ ศึกษาอื่นๆ


ที่มา - ผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000129141

No comments:

Post a Comment