แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟังของผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่น

แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟังของผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่น

Wednesday, September 29, 2010

ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สพม. งานงอก...สพร.ให้ส่งสำเนาเลื่อนขั้นเงินเดือน

ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สพม.งานงอก สพร.ให้ส่งสำเนาคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่ ๑( ๑ เมษายน ๒๕๕๓) ภายในวันนี้ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
เพื่อประกอบกการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่ ๒ (๑ ตุลาคม ๒๕๕๓) ด่วนที่สุด ตามลิงค์ด้านล่างครับ


ให้ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สพม.ส่งคำสั่งสำเนาการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่๑(๑เมษายน๒๕๕๓)ให้ สพร.ด่วน....


ภายในวันนี้ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓

มาลงให้ดูอีกครั้งสำหรับผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่น ออกข่าววันนี้


จัดไป (ผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นอ่านดูท้ายๆครับ)


นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เปิดเผยถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังพิจารณาเรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคล ในการโยกย้ายและสรรหา แต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในสังกัด สพฐ. ตามที่ ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ในฐานะประธานได้เสนอต่อที่ประชุม ว่า หลักเกณฑ์ที่เสนอนั้นมีลักษณะคล้ายหลักเกณฑ์เดิม แต่ สพฐ.จะจัดระบบการโยกย้ายให้เป็นธรรมมากขึ้น เช่น มีการจัดลำดับการโยกย้ายของผู้บริหาร โดยพิจารณาขนาดของโรงเรียน ปริมาณงานที่รับผิดชอบและจะไม่ให้เกิดการโยกย้ายแบบก้าวกระโดด นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ใหม่ยังเปิดทางให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนประถม ที่มีประสบการณ์การทำงานมากและสนใจอยากจะเข้ามาเป็นผู้บริหารสถานศึกษาใน โรงเรียนระดับมัธยม หรือกลุ่มมัธยมพลัดถิ่น ซึ่งมีอยู่จำนวนหลายร้อยคน คือ เคยมีประสบการณ์ทำงานในโรงเรียนมัธยมมาก่อนและสนใจอยากจะสอบคัดเลือกเพื่อ เป็นผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมก็จะไม่ปิดกั้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

เริ่มชัดเจนการสรรหาผอ.สพม./ก.ค.ศ.แนะควรมีอัตรากำลังการตรวจสอบภายใน ใน สพม.

ตามนั้น
นายชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ความชัดเจนในส่วนของหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การ มัธยมศึกษา (สพม.) 42 เขต และโครงสร้าง สพม.นั้นจะแบ่งสัดส่วนการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเปิดรับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา (สพป.) ที่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อนและสมัครใจจะสมัครเพื่อคัดเลือกเป็น ผอ.สพม. ส่วนที่สองเปิดรับสมัครสอบคัดเลือกทั่วไป ซึ่งสัดส่วนแต่ละประเภทจะเป็นเช่นไรต้องให้คณะกรรมการข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นผู้พิจารณาและกำหนด แต่ต้องดำเนินการให้เสร็จใน 180 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเวลาการทำหน้าที่ของคณะอนุ ก.ค.ศ.วิสามัญ เพื่อทำหน้าที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่มัธยมศึกษา แต่เบื้องต้นที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้พิจารณาร่างหลักเกณฑ์การคัดเลือกแล้ว ในส่วนของอัตรากำลังคนในโครงงสร้างที่เสนอไปนั้น ก.ค.ศ.ไม่ขัดข้อง แต่ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดูรายละเอียดและเสนอแนะว่าควรเพิ่มบางประเด็น เช่น ระบบการตรวจสอบภายในควรมีอยู่ในโครงสร้างของ สพม.หรือไม่ จึงมอบสำนักงานพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) ของ สพฐ.ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากนั้นให้นำเสนอสู่ที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณา

นายชินภัทร กล่าวด้วยว่า ก.ค.ศ.ไม่ได้ตีกลับร่างมา แต่ขอให้พิจารณาเพิ่มเติมในรายละเอียดบางส่วน โดยเรื่องของอัตรากำลังใน สพม.และ สพป. ที่เสนอไปนั้น สำหรับ สพม.กทม.เขต 1และ 2 กำหนดจำนวนบุคลากรตามโครงสร้างไว้ที่ 62 คน สพป.ทั่วประเทศ มีจำนวน 62 คน แต่จำนวนอาจจะมากหรือน้อยต่างกันขึ้นอยู่ปริมาณงานยกเว้น สพป.กทม.จำนวน 39 คนเพราะ กทม.มีโรงเรียนประถมน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ในแต่ละเขตพื้นที่นั้นให้ สพร.ไปศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยว่าควรที่จะมีบุคลากรที่มีวิทยฐานะชำนาญการ พิเศษจำนวนเท่าใด และดูว่ามีแนวทางที่จะทำได้หรือไม่ หรือถ้าจะให้มีถึงวิทยฐานะเชี่ยวชาญใน สพท.ด้วยจะได้หรือไม่



ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com

Tuesday, September 28, 2010

ด่วน...จากท่านเลขาฯสพฐ. ไฟเขียวผู้อำนวยการมัธยมพลัดถิ่นกลับคืนการมัธยม


ข่าวดี สำหรับชาวผอ.มัธยมพลัดถิ่น ตุลาคม ๒๕๕๓ นี้ เริ่มชัดเจน ...

ชิงเก้าอี้ สพม.-สถานศึกษา/เร่งร่างหลักเกณฑ์ชง ก.ค.ศ.อนุมัติทัน ต.ค.53

เมื่อวันที่ 28 ก.ย.53 นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)วิสามัญ ที่ทำหน้าที่แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์การโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งในส่วนของประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากนั้นจะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อพิจารณาและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ทาง ก.ค.ศ.กำหนดต่อไป ทั้งนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวคงจะคล้ายคลึงกับที่ผ่านมา แต่คงจะจัดทำให้เป็นระบบที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น และลำดับของการโยกย้ายจะต้องไม่ก้าวกระโดดจนเกินไป ทั้งนี้การพิจารณาโยกย้ายจะดำเนินการให้ทันเดือน ต.ค.นี้ เพื่อทดแทนผู้บริหารสถานศึกษา ที่เกษียณอายุราชการ

“หลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจ ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ เพื่อเปิดทางให้กับผู้ที่เป็นผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสบการณ์ และสนใจจะย้ายมาเป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วย โดยเฉพาะกลุ่มมัธยมพลัดถิ่น ที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นบุคลากรของโรงเรียนมัธยมศึกษา เช่น รองผู้อำนวยการโรงเรียน และต่อมาได้ไปทำการสอบคัดเลือกและได้เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งบุคลากรในกลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สนใจอยากจะกลับมาอยู่โรงเรียนมัธยมศึกษา ดังนั้นจึงคิดว่าไม่น่ามีอะไรที่จะเป็นจุดที่จะต้องไปปิดกั้นบุคลากรในกลุ่ม นี้”

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า ส่วนความคืบหน้าเรื่องการคัดเลือกแต่งตั้งผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) นั้น อาจจะมี 2 แนวทางคือ

1.ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่มีประสบการณ์ในการบริหารมัธยมศึกษามาก่อน และสนใจจะมาเป็น ผู้อำนวยการ สพม. แจ้งความจำนงย้ายมาเป็น ผู้อำนวยการ สพม. และ

2.เปิดสอบคัดเลือกทั่วไป

สำหรับทั้ง 2 แนวทางนี้จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนว่าแต่ละแนวทางจะมีจำนวนเท่าใด จากนั้นจะเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นชอบต่อไป


ที่มา - สยามรัฐออนไลน์
http://www.siamrath.co.th/?q=node/83945

Monday, September 27, 2010

ด่วน...กรอบอัตรากำลัง สพม.และ สพป.ใหม่ สดๆจากการประชุม ก.ค.ศ.๒๘กันยายน ๒๕๕๓


กรอบอัตรากำลัง ที่ชงให้ ก.ค.ศ. พิจารณาในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๓

การกำหนดอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

กรอบอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น มาตรา ๓๘ ค (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดไว้เดิม โดยตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิมมากำหนด

กรอบอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ๔๒ เขต ได้แก่ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ ๑ ตำแหน่ง รวม ๔๒ ตำแหน่ง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ ๓ ตำแหน่ง รวม ๑๒๖ ตำแหน่ง และตำแหน่งศึกษานิเทศก์ รวม ๖๙๖ ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑-๒ (กรุงเทพมหานคร) จำนวน ๒ เขตๆ ละ ๔๘ ตำแหน่ง รวม ๙๖ ตำแหน่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓-๔๒ จำนวน ๔๐ เขตๆ ละ ๑๕ ตำแหน่ง รวม ๖๐๐ ตำแหน่ง.

นวรัตน์ รามสูต
นงศิลินี โมสิกะ
สรุป/รายงาน

กรอบอัตรากำลังของบุคคลตามมาตรา ๓๘ค(๒)ของ สพม.ที่ ก.ค.ศ.ชงไว้

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) มีข้อเสนอกรอบอัตรากำลังกคศ. ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีการนำเสนอกรอบอัตรากำลังดังนี้

1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) คือ

* สพม.กรุงเทพฯ เขต 1 และ เขต 2 ให้มีอัตรากำลังเขตละ 62 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 14 ตำแหน่ง
* สพม.เขต 3 ถึง เขต 42 ให้มีอัตรากำลังเขตละ39 ตำแหน่ง มีตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 13 ตำแหน่ง ให้คงกรอบอัตรากำลังนี้เป็นเวลา 1 ปี และให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอทบทวนกรอบอัตรากำลังตามภาระงานต่อไป

2.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) คือ สพป.กรุงเทพมหานคร ให้มีอัตรากำลัง 62 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษได้ 14 ตำแหน่ง ให้สพฐ. ปรับเกลี่ยอัตรากำลังในสพป.ได้ โดยการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่เกินร้อยละ 30 ไปกำหนดในสพม.และเสนอขอทบทวนกรอบอัตรากำลังของสพป. ตามภาระงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎหมายพร้อมทั้งเสนอแผนระยะ 3 ปี เพื่อปรับลดอัตรากำลังบุคลากรในสพป. ร้อยละ 30 ในระยะเวลา 1 ปี

เนื่องจากกรอบดังกล่าวยังไม่เป็นที่่พอใจของบุคคลตามมาตรา ๓๘ค(๒)จึงต้องรอความชัดเจนในการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งต่อไป และน่าจะได้กรอบอัตรากำลังที่สมบูรณ์ที่สุด

Friday, September 24, 2010

ของแถม...ความเคลื่อนไหวของกลุ่มศึกษานิเทศก์การมัธยม-(เป็นประเด็น..)

มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มศึกษานิเทศก์การมัธยมศึกษาด้วยครับ ประเด็นสำคัญๆ เช่น มีเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพที่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ ยาวไป ยาวไป...โปรดอย่ากระพริบตา ... ตามลิงค์นี้ไปเลย

โครงสร้างและภารกิจของศึกษานิเทศก์

ข่าวคราวความคืบหน้า ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี จะได้ติดตามตอนต่อไป

Wednesday, September 22, 2010

ด่วน....ออกมาแล้วแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษา สพม.

ออกมาแล้ว ร้อนๆจ้า แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูและผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ใครที่ไม่ได้เขียนย้าย ๑-๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมาหมดสิทธิ์ ไม่รับใบย้ายที่เขียนเพิ่มครับ เจ้านาย รอสิงหาคม ๒๕๕๔ เท่านั้น ผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นที่ไม่ได้เขียนย้ายช่วงดังกล่าว งานงอกแล้ว จัดให้ตามลิงค์นี้ไปเลย
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูและผู้บริหาร สังกัด สพม.

เร็วๆนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายครับ โปรดจับตา

Tuesday, September 21, 2010

ข่าวคราวเล็กๆดีๆจากชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี

เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี กลุ่มย่อย ประมาณ ๕-๖ คน ได้จัดพบปะเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง ณ บ้านท่าน ส.ส.องอาจ วงษ์ประยูร ดังที่ชมรมฯได้นำเสนอในบล๊อกนี้ไปแล้วนั้น และในวันนี้ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ ท่าน ส.ส.ได้โทรศัพท์แจ้งข่าวว่า ได้เรียนถามท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ถึงความคืบหน้าของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแยกประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ท่านรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ตอบว่า จะช่วยให้ผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นทุกคน ได้กลับการมัธยมอย่างแน่นอน ไม่ได้ทอดทิ้งพวกเราเหมือนที่ผู้บริหารบางคนให้ข่าวก่อนหน้านั้นแต่อย่างใด
ความคืบหน้าต่อไป โปรดติดตาม...

รูปแบบเอกสารของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ ดูท้ายๆนะครับมีแบบกรอกข้อมูลผู้บริหารที่ขอย้าย

จัดไป ตามลิงค์

รูปแบบเอกสารและข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาที่ขอย้าย

หนังสือแจ้ง สพม.ที่สพฐ.ให้แจ้งตำแหน่งว่างและตำแหน่งที่ชะลอและสงวนไว้

หนังสือแจ้งสพป.ที่สพฐ.ให้แจ้งตำแหน่งว่างและตำแหน่งที่ชะลอและสงวนไว้

บันทึกข้อความแจ้งมติที่ประชุมอ.ก.ค.ศ.วิสามัญ

ท่านผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นที่เขียนย้ายช่วง 1-15 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมาโปรดอย่ากระพริบตา...

ครูเฮ...รับ 2 เด้ง เงินเดือนขึ้นร้อยละ 8 และร้อยละ 5 เมษายน 2554

ตามนั้น.....
ครูกว่า 4 แสนคนเฮรับ 2 เด้ง ครม.ไฟเขียวปรับฐานเงินเดือนขึ้น 8 % เม.ย.ปี 54 เตรียมรับเพิ่มอีก 5 %
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 21 กันยายนว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... และการปรับระบบบริหารงานบุคคลข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยให้เสนอต่อคณะกรรมการประสานงานฝ่ายนิติบัญญัติ และสภาผู้แทนราษฎรตามลำดับต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ศธ.ได้เสนอให้มีการแก้ไขจากพ.ร.บ.เงินเดือนฯ พ.ศ.2547 ที่เป็นฉบับปัจจุบัน เนื่องจากได้มีการปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการพลเรือนใหม่หลังจากปรับ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 โดยมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการพลเรือนใหม่ถึง 2 ครั้ง ส่งผลให้เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการประเภทอื่นตลอดจนบัญชีเงินเดือนขั้นสูงและขั้น ต่ำของข้าราชการประเภทอื่นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับอัตราเงินเดือนและโครงสร้างเงินเดือนของข้า ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฉะนั้นจึงต้องมีการแก้ไขพ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะฯ ใหม่เพื่อให้เกิดให้มีความเหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้าราชการประเภทอื่น ประกอบกับปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นด้วย
“ร่างพ.ร.บ.เงินเดือนฯ ดังกล่าว จะส่งผลให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 432,942 คน ได้มีโอกาสปรับโครงสร้างเงินเดือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8 ของบัญชีโครงสร้างเงินเดือนเดิม โดยในส่วนของเงินเดือน คศ.5 (ครูและบุคลากรทางการศึกษา 5 ) จะได้รับสูงสุดถึง 66,480 บาท เทียบเท่ากับสายงานแพทย์ สายงานนักกฎหมายและกฤษฎีกา ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เพราะที่ผ่านมาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับเงินเดือนต่ำกว่า จึงถือเป็นการยกระดับอัตราเงินเดือนขั้นสูง เทียบเท่าขั้นสูงสุดของสายงานแพทย์ สายงานนักกฎหมายและกฤษฎีกา โดยข้าราชการครูครูและบุคลากรตั้งแต่ครูปฏิบัติการจนถึงเชี่ยวชาญพิเศษ จะได้ปรับโครงสร้างเงินเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นคนละ 2000-3000 บาทโดยอัตโนมัติเมื่อร่างพ.ร.บ.เงินเดือนฯ ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ซึ่งการปรับฐานโครงสร้างเงินเดือนครั้งนี้ จะทำให้ใช้งบประมาณเพิ่มเติม 2,000 ล้านบาท” นายชินวรณ์ กล่าว
รัฐมนตรีว่าการศธ. กล่าวต่อไปว่า ครม.ยังได้มีมติเห็นชอบให้ศธ.ดำเนินการมาตรการระยะปานกลางและระยะยาว โดยระยะปานกลางให้จัดระบบค่าตอบแทน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อ ให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาและยุทธศาสตร์การศึกษาของประเทศและให้เทียบเคียง กับระยะสากล ส่วนในระยะยาว ให้ศึกษาค่าตอบแทนของข้าราชการทุกประเภททั้งระบบในกระทรวงศึกษาฯ เป็นภาพรวมต่อไป ซึ่งตนได้ชี้แจง ครม.ว่าได้มีการตั้งคณะทำงาน มีตัวแทนจากคณะกรรมการข้าราชพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.).และคณะ กรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ซึ่งจะศึกษาเรื่องการพัฒนาค่าตอบแทนทั้งระบบต่อไป ทั้งนี้ตนตั้งใจจะผลักดันร่างพ.ร.บ.เงินเดือนฯ ให้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรทันสมัยประชุมนี้ เพื่อจะได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายก่อนเดือนเมษายน 2554 ทั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้เป็นฐานโครงสร้างเงินเดือนใหม่ ซึ่งจะได้มีการปรับฐานโครงสร้างเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5 ในเดือนเมษายน 2554 ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเพิ่มเงินเดือนให้กับข้าราชการทุกประเภทร้อยละ 5 ในเดือนเมษายน 2554
ผู้สื่อข่าวถามว่าคณะกรรมการเงินเดือนแห่งชาติ(กงช.) เคยตั้งข้อสังเกตการเพิ่มเงินเดือน คศ.5 ถึง 66,480 จะทำให้ลักลั่นกับข้าราชการประเภทอื่น นายชินวรณ์ กล่าวว่า ความจริง กงช.และหน่วยงานอื่นมีความกังวล จึงเห็นด้วยที่จะให้ปรับบัญชีเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ตลอดจนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโดยให้เทียบเคียงกับค่าตอนแทนข้า ราชการพลเรือนสามัญ เพียงแต่ยังไม่เห็นด้วยที่จะให้เงินเดือนขั้นสูงสุดของคศ.5 อยู่ที่ 66,480 บาท แต่ตนได้ชี้แจงต่อ ครม.ว่าครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสายงานพิเศษ การจะได้ คศ.5 จะต้องทำผลงานทางวิชาการด้วยตนเอง ซึ่งจากครูกว่า 4 แสนคน ขณะนี้มีผู้ที่สามารถทำผลงานทางวิชาการได้แค่ 2 คนเท่านั้น แต่การที่ ครม.เห็นชอบ จะเป็นแรงจูงใจให้คนเก่งและคนดีมาสมัครเป็นครูเพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถมีเงินเดือนสูงขึ้นเทียบเท่าสายงานแพทย์ สายงานนักกฎหมายและกฤษฎีกา ซึ่งตนคาดว่าเมื่อร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ก็จะได้รับความเห็นชอบด้วย

นายชินวรณ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ที่แนบท้ายร่างพ.ร.บ.เงินเดือนฯ (ฉบับที่...) พ.ศ.... ดังนี้

ครูผู้ช่วย ขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท ขั้นต่ำ 8,700 บาท ขั้นสูง 16,840 บาท,
คศ.1 ขั้นต่ำชั่วคราว 8,130 บาท ขั้นต่ำ 11,930 บาท ขั้นสูง 29,700 บาท จากอัตราบัญชีเดิมในปัจจุบัน ครูผู้ช่วยขั้นต่ำชั่วคราว 7,940 บาท ขั้นต่ำ 11,930 บาท ขึ้นสูง 27,500 บาท,
ระดับ คศ. 2 (ชำนาญการ) ขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 15,410 บาท ขั้นสูง 36,020 บาท จากเดิม ขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 15,410 บาท ขั้นสูง 33,540 บาท ,
ระดับ คศ. 3 (ชำนาญการพิเศษ) ขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 18,910 บาท ขั้นสูง 50,550 บาท จากเดิมขั้นต่ำชั่วคราว 12,530 บาท ขั้นต่ำ 18,910 บาท ขั้นสูง 57,450บาท ,
ระดับ คศ.4 (เชี่ยวชาญ) เริ่มที่ขั้นต่ำ 23,230 บาท ขั้นสูง 59,770 บาท จากเดิมขั้นต่ำ 23,230 บาท ขั้นสูง 50,550บาท
และระดับคศ.5 (เชี่ยวชาญพิเศษ) ขั้นต่ำ 28,550 บาท ขั้นสูง 66,480 บาท จากเดิมขั้นต่ำ 28,550 บาท ขั้นสูง 64,340 บาท

รัฐมนตรีว่าการศธ. กล่าวด้วยว่า ส่วนบัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและครูที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ก.ค.ศ.กำหนด ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีดังนี้

วิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท
ชำนาญการพิเศษ 5,600 บาท
เชี่ยวชาญ 9,900 บาท
เชี่ยวชาญพิเศษ 15,600 บาท

จากอัตราเดิมในปัจจุบันวิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท
ชำนาญการพิเศษ 5,600 บาท
เชี่ยชาญ 9,900 บาท
และเชี่ยวชาญพิเศษ 13,000 บาท

ส่วนอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีดังนี้ อาจารย์ ขั้นปฏิบัติการ ปริญญาตรี 7,940 บาท ปริญญาโท 9,700 บาท ปริญญาเอก 13,110 บาท ขั้นสูง 36,020 บาท, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขั้นสูง 50,550 บาท ,รองศาสตราจารย์ขั้นสูง 59,770 บาท, ศาสตราจารย์ ระดับ 9-10 64,340 บาท และระดับ 11 66,480 บาท

ที่มา - มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1285056122&grpid=00&catid=

ยาวไป ยาวไป ...

Monday, September 20, 2010

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรีนัดพบปะเสวนาครั้งที่ 3

 
Posted by Picasa

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี นัดพบปะเสวนา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง มีผู้เข้าเสวนาจำนวน 6 คน ในภาพจากซ้ายไปขวา ผอ.ขจรศักดิ์ ชัยสมตระกูล ,ผอ.สันต์ธวัช ศรีคำแท้ ,ส.ส.องอาจ วงษ์ประยูร ,ผอ.เริงฤทธิ์ ผดุงพันธ์ ,และผอ.สุชาติ สุนทรประสิทธิ์

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี นัดพบปะเสวนาครั้งที่ 3

 
Posted by Picasa

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี นัดพบปะเสวนากลุ่มย่อย ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ในภาพจากซ้ายไปขวา ผอ.อากาศ โพธิ์อ่อง,ผอ.ขจรศักดิ์ ชัยสมตระกูล,ส.ส.องอาจ วงษ์ประยูร,ผอ.เริงฤทธิ์ ผดุงพันธ์,ผอ.สุชาติ สุนทรประสิทธิ์

Friday, September 17, 2010

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรีประชุมพบปะเสวนาครั้งที่ 2


ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี จัดประชุมพบปะเสวนา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2553 ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี เพื่อพูดคุย สื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการย้าย สรุปว่า มอบให้ผอ.วัลลภ ศรีวงศ์จรรยา(เขต 1)และผอ.รุจภรณ์ ภูอมรกุล(เขต 2)เป็นตัวแทนคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายที่ สพม.เขต 4
มีผู้เข้าพบปะเสวนา จำนวน 10 ท่าน คือ
๑.ผอ.วัลลภ ศรีวงศ์จรรยา
๒.ผอ.สำราญ ไพรวรรณ์
๓.ผอ.ชวนทรัพย์ ศรีราชา
๔.ผอ.พิสิทธิ์ จิตต์ผูก
๕.ผอ.เริงฤทธิ์ ผดุงพันธ์
๖.ผอ.สันต์ธวัช ศรีคำแท้
๗.ผอ.ขจรศักดิ์ ชัยสมตระกูล
๘.ผอ.วุฒิไกร ทองบ่อ
๙.ผอ.อากาศ โพธิ์อ่อง
๑๐ ผอ.พงษ์ศักดิ์ หนูทรัพย์

------------------------ขอขอบพระคุณ ผอ.ธนิต มูลสภา ผอ.โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่อนุเคราะห์ห้องประชุมและเครื่องดื่มครับ..........

Wednesday, September 15, 2010

ด่วน...ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการแบ่งส่วนราชการภายใน

มาแล้ว ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2553 ลงวันที่ 13 กันยายน 2553 มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สพม.มีทั้งหมด 6 กลุ่ม จัดไปตามลิงค์


ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2553

ราชกิจจานุเบกษาประกาศ ศธ.แบ่งส่วนฯการประถมศึกษา

ราชกิจจานุเบกษาประกาศ ศธ.แบ่งส่วนฯการมัธยมศึกษา

มีผลวันที่ 14 กันยายน 2553 อาจเป็นข้อสอบ การสรรหา ผอ./รองฯ สพม.

Tuesday, September 14, 2010

เอกสารการมัธยม รวมมิตรและรายละเอียด โครงการของ สมป. ๘ กันยายน ๒๕๕๓

มีโครงการของสำนักงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย(สมป.)ด้วยครับ ดำเนินการแล้วเมื่อ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ คลิ๊กตามลิงค์ไปเลย อาจช้าหน่อยเพราะไฟล์ใหญ่มาก


รวมเอกสารของการมัธยมศึกษาและโครงการของ สมป.

ปฏิบัติหน้าที่ผอ.สพม. ง า น เ ข้ า .......ไม่มีใบประกอบวิชาชีพฯ

หลายคนทีเดียว ไม่มีใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา สพฐ.ชงเรื่องให้ผิด...งามไส้

ครูโวย สพฐ.ตั้งผู้ไร้ใบประกอบวิชาชีพผู้บริหาร นั่ง ผอ.สพม. “องค์กร” โยน สพฐ.ชงเรื่องมาผิด รับพลาดเองอนุมัติให้ พร้อมถอนการอนุญาต ฝากส่งเรื่องมาใหม่ แยกชัดคุณสมบัติครบ ไม่ครบ
วันนี้ (14 ก.ย.) นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า จากกรณีที่ชมรมองค์กรเครือข่ายวิชาชีพครู 4 ภูมิภาค ได้ยื่นหนังสือทักท้วงให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาตรวจสอบ กรณีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แต่งตั้งผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ไปปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ว่า เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 นั้น ตนได้ดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวแล้ว พบว่า สพฐ.ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดเรื่อง ขออนุญาตให้ผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯโดยปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สพม.จำนวน 41 ราย ตั้งแต่วันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ หรือจนกว่าจะมีการแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่งมาแทน และรองเลขาธิการคุรุสภาก็ได้ออกหนังสืออนุญาตตามที่เสนอขอมาแล้ว แต่เมื่อมีผู้ท้วงติงจึงได้มาตรวจสอบอีกครั้ง และพบว่า การทำหนังสือขออนุญาตของ สพฐ.ไม่ถูกต้อง เนื่องจากในจำนวน 41 ราย มีผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯถึง 34 ราย ดังนั้น สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะทำหนังสือยกเลิกการอนุญาตของคุรุสภา และให้ สพฐ.ทำเรื่องขออนุญาตมาใหม่ให้ถูกต้องอีกครั้ง
“ส่วนตัวคิดว่า การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สพม.ครั้งนี้ไม่น่าจะถูกต้องในหลักการ และไม่เหมาะสม เพราะปัจจุบันมี ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รอง ผอ.สพท.และผู้ที่สอบขึ้นบัญชีได้ ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาไปแล้วกว่า 2,000 คน ก็ควรพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติครบก่อน แต่หากคิดว่า นำ รอง ผอ.สพท.ที่ไม่มีสายเลือดทางมัธยมไปดูแล สพม.ไม่ได้ แล้วมีการแต่งตั้งแบบข้ามหัว ก็จะทำให้เกิดการแตกแยก ทำให้ครูทะเลาะกัน อีกทั้งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาก็ไม่ได้แบ่งแยก ว่า เป็นการบริหารในระดับประถม หรือมัธยม ถ้าเป็นการศึกษาที่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีก็บริหารได้ทั้งนั้น ทั้งนี้ หากมีการฟ้องร้องภายหลังผู้แต่งตั้งก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ” เลขาธิการคุรุสภา กล่าว
นายองค์กร กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่ชมรมองค์กรเครือข่ายครูฯ ระบุว่า ถ้าสอบครูได้แต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูก็ไม่สามารถบรรจุได้ แต่ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งดูแลทั้งครูและผู้บริหารโรงเรียน เมื่อไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา กลับสามารถแต่งตั้งให้เป็น ผอ.สพม.ได้ ซึ่งถือว่าคุรุสภาพิจารณาแบบสองมาตรฐานนั้น ยืนยันว่า คุรุสภาไม่ได้พิจารณาเรื่องการประกอบวิชาชีพควบคุมแบบสองมาตรฐาน แต่เรื่อง ผอ.สพม.เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งเมื่อ สพฐ.ชงเรื่องมาผิด การอนุมัติก็ผิดพลาดตามไปด้วย และขณะนั้นตนติดราชการต่างจังหวัด รองเลขาธิการคุรุสภาก็ได้อนุมัติให้ แต่เมื่อรู้ว่าผิดพลาดตนก็จะถอนการอนุญาตฯ และให้ สพฐ.ทำเรื่องมาใหม่ โดยแยกแยะให้ชัดเจนว่า กลุ่มใดมีคุณสมบัติครบแล้ว และกลุ่มใดยังมีคุณสมบัติไม่ครบ ไม่ใช่ขอยกเว้นมาแบบยกโหล และในการขออนุญาตก็จะต้องมีการกำหนดว่าจะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้มีคุณสมบัติ ครบตามใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาภายใน 2 ปี เช่นเดียวกับการขออนุญาตให้แก่ผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการ ศึกษาอื่นๆ


ที่มา - ผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000129141

Wednesday, September 8, 2010

กพฐ.กำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายใน สพป.และสพม.แล้ว

ตามนั้น

กพฐ.เห็นชอบโครงสร้างแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใหม่ทั้งประถมและมัธยม

 (8ก.ย.)นายชินภัทร  ภูมิรัตน  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ที่มีนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า บอร์ด กพฐ.ได้หารือเรื่องการแบ่งโครงสร้างสร้างรายการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ซึ่งปัจจุบันแยกเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษามีจำนวนทั้งหมด 183 เขตทั่วประเทศ และสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา มีจำนวน 42 เขต โดยการแบ่งส่วนราชการใหม่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 2 ประเภทนั้น อิงกับการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิม และได้วิเคราะห์ภารกิจ ปัญหาในทางปฏิบัติงานที่ผ่านมา มาเป็นข้อมูลพิจารณาแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในคราวนี้ด้วย
 สำหรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานั้น แบ่งเป็น 7 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานอำนวยการ กลุ่มงานบริหารบุคคล กลุ่มงานนโยบายและแผน กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มงานนิเทศก์ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา กลุ่มงานส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน และกลุ่มงานบริหารการเงินและทรัพย์สิน ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาแบ่งส่วนราชการเหมือนสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา แต่ไม่มีกลุ่มงานส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนเพราะโอนงานนี้ให้สำนักงานการประถมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ซึ่งมีงานไม่มากส่วนใหญ่เป็นงานเชิงธุรการ งานเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายหัวของสถานศึกษาเอกชน
 นายชินภัทร กล่าวต่อว่าจุดเปลี่ยนแปลงระหว่างโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในอดีตและปัจจุบันนั้นมีไม่มาก เช่น กลุ่มงานอำนวยการเดิมครอบคลุมทั้งงานบริหารจัดการทั่วไปในสำนักงานและงานการเงิน แต่เพื่อความสะดวกและคล่องตัวจึงแยกเป็น 2 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานอำนวยการและกลุ่มงานบริหารการเงินและสินทรัพย์ หรือมีการย้ายงานจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพ จากกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาไปอยู่ในกลุ่มอำนวยการเพื่อความเหมาะสม ทั้งนี้เมื่อแบ่งส่วนราชการเสร็จแล้วก็จะมีการเกลี่ยคนไปลงในตำแหน่งต่างๆ ตามโครงสร้างใหม่


ที่มาหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก 8 กันยายน 2553

Tuesday, September 7, 2010

มาแล้ว....จัดหนักๆให้ไปเลยสำหรับหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย

การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๓ จัดหนักๆให้สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทางวินัยฯหรือเรื่องอื่นๆของการบริหารบุคคลช่วงนี้.... จัดไป ตามลิงค์

หลักเกณฑ์การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูฯ

อาจมีกรรมการกลั่นกรองการโย้กย้ายผู้บริหารสถานศึกษามัธยมแทนอ.ก.ค.ศ.วิสามัญ

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยกรณีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ห่วงว่าการทำงานของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญ ที่ทำหน้าที่แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อาจเกิดความล่าช้า เพราะต้องดูแลเขตพื้นที่การศึกษามัธยมทั้ง 42 เขต ว่า ในฐานะประธาน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ล่าช้า เพราะการทำงานเพิ่งจะเริ่มต้น และตนจะประชุมเพื่อวางกรอบ และหลักเกณฑ์ในการทำงานอย่างเข้ม จะพยายามประชุมให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยในเดือนนี้จะประชุมกัน 4-5 ครั้ง และภายในเดือนกันยายน มีกรอบปฏิทินการดำเนินการเรื่องเขตพื้นที่การศึกษามัธยมจะแล้วเสร็จ ส่วนการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ชัดเจน และมีกลไกต่างๆ เหมือนการแต่งตั้งโยกย้ายที่ผ่านๆ มา อย่างไรก็ตาม ตนมีแนวคิดที่จะตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองขึ้นมา 42 เขต เพื่อทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองงานตามที่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯมอบหมาย จะทำให้การพิจารณางานต่างๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะนำเรื่องนี้หารือในที่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ และหารือ ก.ค.ศ.ด้วย การตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองนี้ จะต้องวางระบบให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการบริหารงาน

"การแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ตัวจริงแทนผู้ปฏิบัติหน้าที่นั้น เป็นเรื่องที่ สพฐ.จะต้องพิจารณา โดยจะต้องยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ ก.ค.ศ.เห็นชอบ ซึ่งอาจกำหนดสัดส่วนเอาไว้ 2 ส่วน คือ การเปิดโอกาสให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) เดิม หรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ย้ายมาดำรงตำแหน่ง และการเปิดให้สมัครคัดเลือกสรรหาทั่วไป จะเสนอเรื่องนี้ให้ที่ประชุม กพฐ.พิจารณาว่าควรกำหนดสัดส่วนเท่าใด" นายชินภัทรกล่าว




ที่มา - มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1283838871&catid=04

ความเคลื่อนไหวจากชมรมผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่นแห่งประเทศไทย(ชบมท.)

มีความเคลื่อนไหว จากท่านประธานชมรมฯ ดร.สมนึก นาห้วยทราย หลังจากได้พูดคุยกัน ณ อาคารรัฐสภา ๒ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ หลังเข้าพบท่านรัฐมนตรีว่ากการกระทรวงศึกษาธิการ พวกเราได้ประชุมหารือกันประมาณ ๑ ชั่วโมง ต่อไปนี้คือความเคลื่อนไหวต่อจากวันนั้น



เรียน ท่านผอ....
                       ผมได้ส่งข้อบังคับ และใบสมัครของชมรมฯ มาให้ท่านและพี่น้องชาวเพชรบุรีและจังหวัดใกล้เคียงขอขอบคุณท่านมากที่ท่านเป็นผู้แทนพวกเราใน เขตนี้ และขอเรียนให้ พี่น้องเราชาวมัธยมพลัดถิ่นได้ทราบว่าคาดว่าสัปดาห์หน้านี้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ ผอ.สถานศึกษามัธยม จะเข้าการพิจารณาและให้ความเห็นชอบของ ก.ค.ศ. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปตามที่ชมรมฯ เราเสนอไป 
                         ขอเรียนพี่น้องพวกเราทุกคนให้ทราบว่า ดร.สมนึก นาห้วยทราย ประธานชมรมฯ คณะกรรมการชมรมฯทุกท่าน จะช่วยเหลือพี่น้องเรา ตลอดไป ไม่มีการทิ้งกันแน่นอน จะช่วยเหลือกันจนถึงที่สุด ผมในนามคณะทำงานที่เชียงใหม่ขอขอบคุณท่าน..... และพี่น้องเราทุกคนที่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือกัน คิดว่าคงได้ร่วมงานกันต่อไปนะครับ
                                                                                                                               ผอ.กระจ่าง  แก้วสว่างนภา
เลขานุการชมรมฯ
      โทร 0815316358 
E-mail : Krajang.cm@hotmail.com
5/ก.ย./53

หมายเหตุ- บล๊อกชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี ขออนุญาตตัดทอนชื่อผอ.ท่านที่อยู่เพชรบุรี ด้วยนะครับ และกราบขออภัยที่โพสต์ขึ้นบล๊อก อาจมีประโยชน์จากเพื่อนผู้บริหารพลัดถิ่นฯที่ยังไม่ทราบความเคลื่อนไหวครับ

วิธีดาวน์โหลดใบสมัครและข้อบังคับชมรม ให้ท่านคลิ๊กเข้าไปในเอกสารตามลิงค์ ในส่วนของใบสมัครนั้นเมื่อท่านผอ.คลิ๊กเข้าไปดูแล้วให้ท่าน คัดลอกใบสมัครแล้วไปวางในเวิร์ดจึงเติมข้อความตามใบสมัครได้


ดาวน์โหลดข้อบังคับชมรมผู้บริหารพลัดถิ่น

ดาวน์โหลดใบสมัครสมาชิกชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นแห่งประเทศไทย

อย่าลืม ใบสมัครเมื่อท่านดาวน์โหลดขึ้นมาแล้วคัดลอกไปวางในเวิร์ด จัดแต่งให้เหมาะสมสวยงามและเติมข้อความให้ครบสมบูรณ์ ส่งไปตามอี-เมล์ ของผอ.กระจ่าง ฯ และโอนเงินจำนวน 200 บาท ครับ ขอบคุณครับ

หากมีปัญหาในการดาวน์โหลดเอกสารใบสมัครสมาชิกชมรมโปรดติดต่อ rony1977@live.com

Monday, September 6, 2010

สพม.เขต๔และพิธีสงฆ์ ในการเปิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ ๔ ปทุมธานี-สระบุรี



ภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ (ปทุมธานี-สระบุรี) โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี และภาพพิธีสงฆ์ในการเปิด สพม.เขต ๔ ปทุมธานี-สระบุรี วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ พร้อมกันทั่วประเทศทั้ง ๔๒ เขต

พิธีเปิดป้าย สพม.ที่๔ ปทุมธานี-สระบุรี


พิธีเปิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ ๔ ปทุมธานี-สระบุรี เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๓

ภาพพิธีเปิด สพม.ที่๔ ปทุมธานี-สระบุรี เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๓


รองฯสุวิทย์ แจ่มจบ (นั่งกลาง)และรองฯอรพรรณ ฯ(ขวาสุด เห็นหน้า) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑ ในพิธีเปิด สพม.ที่ ๔ ปทุมธานี-สระบุรี

ผอ.สพป.สระบุรี เขต ๒ ร่วมเป็นเกียรติเปิดสำนักงาน สพม.๔ ปทุมธานี-สระบุรี


เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ นายประหยัด อนุศิลป์ (เนคไท ลายขาวเปลือกไข่)ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ที่ ๔ ปทุมธานี-สระบุรี โดยมีผอ.กิจจา ชูประเสริฐ ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สพม.๔ ให้การต้อนรับ

สพม.ปทุมธานี-สระบุรี(สระปทุม) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2553 เปิดพร้อม 42 เขตฯ


ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ดร.ปัญญา แก้วเหล็ก พร้อมผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมทั้ง 21 โรงเรียนจากจังหวัดสระบุรี ร่วมเป็นเกียรติเปิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ที่ 4 ปทุมธานี-สระบุรี(สระปทุม) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2553 ที่ข้างๆโรงเรียนปทุมวิไล

ข่าวสารความเคลื่อนไหวอื่นๆเกี่ยวกับการมัธยม (ก็ว่ากันไป)

ก.ค.ศ.ห่วงงานเขตมัธยมฯล้น ชี้กฎหมายเปิดช่องผอ.สพท.นั่ง "ผอ.สพม."
หวั่นอ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯภาระหนัก-ทำล่าช้า


นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวิสามัญ (อ.ก.ค.ศ.) ที่ทำหน้าที่แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานัดแรกเมื่อเร็วๆ นี้ ตนในฐานะผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้เสนอในที่ประชุมว่า อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ มีภาระหน้าที่ใหญ่มาก เพราะต้องดูแลข้าราชการครูมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ดังนั้น สิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องนี้ ควรจะต้องมีคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดูแลครูมัธยมศึกษาทั่วประเทศ และต้องดูว่าจะสามารถทำงานได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด เพราะงานทุกอย่างมารวมอยู่ที่เดียวทั้งหมด โดยเฉพาะในช่วงนี้จะมีการโยกย้ายผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ แทนตำแหน่งผู้ที่เกษียณอายุราชการด้วยโดยอำนาจต่างๆ อยู่ที่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดนี้หมดจึงมีความจำเป็นที่ สพฐ.จะต้องวางแนวทางต่างๆ ให้ดีเพื่อไม่เกิดปัญหาตามมา
รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ตนยังได้เสนอในที่ประชุมให้ สพฐ.ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่งมีผู้แทน ก.ค.ศ.เป็นที่ปรึกษาเพื่อเข้ามาดูหลักเกณฑ์การย้ายผู้บริหาร ครูผู้สอนสายมัธยมศึกษาที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้งานลงตัวเร็วขึ้นดีกว่าหารือกันเป็นเรื่องๆ กับ ก.ค.ศ.เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการที่ภาระของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯค่อนข้างจะหนักมาก เพราะด้วยกรอบระยะเวลา 180 วันที่กำหนดไว้ทำให้อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯจะต้องพิจารณาเรื่องๆ ต่างมากมายในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อาทิ วิทยฐานะ การโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา การเลื่อนตำแหน่ง การแต่งตั้งบรรจุข้าราชการครู การพิจารณาเรื่องวินัย เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมาขออนุมัติจาก อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดนี้ ดังนั้น น่าจะทำให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาแต่ละเรื่อง และที่สำคัญจะทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับผลกระทบจากความ ล่าช้าดังกล่าวได้
"ส่วนตัวเห็นว่าภาระงานหลายเรื่องควรให้เขตพื้นที่การศึกษาเดิมพิจารณา เรื่องที่ค้างคาอยู่ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยเสนอมาที่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ เพราะขณะนี้ 42 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอาจจะยังไม่มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบงานต่างๆ เฉพาะเรื่องงานธุรการก็มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมาก เช่น การขอคำรับรองเงินเดือน การขอทำบัตรประจำตัว" นายพิษณุกล่าว และว่า สำหรับกรณีที่ สพฐ.ระบุว่า ผู้ที่เคยเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิมสามารถที่จะแต่ง ตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ได้โดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการสรรหาคัดเลือกนั้นตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 38 สามารถดำเนินการได้โดยสามารถย้ายมาเป็น ผอ.สพม.ได้เลยโดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ สพฐ.



ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 6 กันยายน 2553

ตัวอย่างการจัดทำเอกสาร การประชุมและการบริหารบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

จัดไป...ตามลิงค์

ร่างวาระการประชุม เอกสารการบริหารงานบุคคล

ส่วนลิงค์นี้เขาให้มาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2553 มีหนังสือนำเรื่องการบริหารบุคคลด้วย คือเบอร์โทรประสานงานเรื่องต่างๆโดยตรง ทั้งเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง การดำเนินการทางวินัย การเลื่อนวิทยฐานะฯลฯ คลิ๊กไปดูกัน

หนังสือนำเรื่องการบริหารบุคคลและร่างวาระประชุมฯอ.ก.ค.ศ.วิสามัญ

ลิงค์นี้เป็นกฏ ก.ค.ศ.ใหม่ ชื่อว่า กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับพ.ศ. 2553 ชื่อยาวและอ่านฟังยากอีกต่างหาก


กฏ ก.ค.ศ.ว่าด้วยเงินเดือนฯ2553

ส่วนบทความด้านล่างนี้เป็นของแถมด้วยมุมมองของนักวิชาการตามมหาวิทยาลัยฯอ่านแล้วก็ต้องใช้วิจารณญาณและพิจารณาดูว่ามันจริงของเค๊าไหม แล้วท่านเจ้าของบทความไม่อยากรู้เหรอครับว่าครูประถมศึกษาและครูมัธยมศึกษาเขาโทษใครก่อนหน้านั้น
.................................................................................
ศ.ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยที่ยังล้มเหลวว่า การจัดระบบการเรียนการสอนโดยเฉพาะในระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย ยังทำให้เด็กไทยมีพื้นฐานการเรียนรู้ไม่แน่น การเข้าสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเน้นการสอนให้เด็กเข้าใจการเรียนอย่างมีเหตุผล จึงไม่ประสบผลสำเร็จ ดังที่หวังให้ผู้เรียนจบการศึกษาออกไปประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่ามีเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายจำนวนมากที่ยังอ่าน หนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ สาเหตุเพราะครูผู้สอนไม่มีเวลาให้กับเด็กอย่างจริงจัง และระบบการสอนก็ไม่ตรงกับการใช้ชีวิตจริง หากปล่อยให้การศึกษาไทยเป็นไปเช่นนี้ต่อไป จะเกิดผลร้ายกับระบบการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพบุคลากรของประเทศ ดังนั้น ต้องเร่งแก้ไขการศึกษาไทยให้ดีขึ้นโดยยึดหลัก 3 ประการ คือ ครูต้องเป็นผู้รู้ มีความตั้งใจสอนลูกศิษย์ และไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ หรือการทำผลงาน เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่

"ในประเทศที่การศึกษามีความก้าวหน้า อย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ญี่ปุ่น หรือเวียดนาม อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีรายได้สูง ทำให้ครูตั้งใจสอนศิษย์อย่างจริงจัง ไม่ต้องห่วงเรื่องภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ต้องมานั่งทำผลงานสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ ทำให้ครูในประเทศเหล่านี้สนใจในกระบวนการสอนนักเรียนให้เข้าใจจนมีความรู้ อย่างแท้จริง ดังนั้น ในประเทศไทยควรปรับเรื่องกระบวนการสอนที่มุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตน เอง เพื่อนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ให้ผู้เรียนอยู่แต่ในห้องเรียนทั้งวัน แต่อีกครึ่งวันจะปล่อยให้เด็กที่เข้าเรียนวันนั้นนำทฤษฎีที่ได้รับจากครูผู้ สอนไปทดลองใช้ในชีวิตประจำวัน หรือไปเรียนรู้เพิ่มเติมกับผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองคือครูในชีวิตจริงของเด็ก ที่ต้องเรียนรู้กระบวนการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งหากการศึกษาไทยไม่ปรับกระบวนแนวคิดการสอนใหม่เช่นนี้ จะเป็นผลเสียต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งหมายรวมไปถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตด้วย" อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกล่าว



ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ว่าด้วยอ.ก.ค.ศ.ไม่ธรรมดา(วิสามัญ)เพื่อทำหน้าที่อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่มัธยม

ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 มาตรา 6 วรรคสอง กำหนดว่า "ในระหว่างที่ยังมิได้ดำเนินการให้มีอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้ ก.ค.ศ.แต่งตั้งอ.ก.ค.ศ.วิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ต้อง ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญนั้นมีผลผูกพันและบังคับได้ ดังเช่น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา"
ก.ค.ศ.ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2553 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 จึงตั้ง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเพื่อทำหน้าที่อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยมีรายชื่อต่อไปนี้

1) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่ประธานอนุกรรมการ และมีอนุกรรมการ ดังนี้
2) รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
3) นายนิราศ สร่างนิทร
4) นายนิวัตร นาคะเวช
5) นายอภิชาติ จีระวุฒิ
6) นายเสน่ห์ ขาวโต
7) นายสมเกียรติ ชอบผล
8) นายปฐมฤกษ์ มณีเนตร
9) นายสงกรานต์ จันทร์น้อย
10) นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์
11) นายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์
12) นายประพันธ์ สุเนตรวรกุล
13) นายณัฐ จั่นแย้ม
14) นายบัณฑิต แท่นพิทักษ์
15) ผู้แทนสำนักงาน ก.ค.ศ. (นายพิษณุ ตุลสุข)
16) ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
โดยมีเจ้าหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมาย ทำหน้าที่อนุกรรมการและเลขานุการ 1 คน ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการ 2 คน


ซึ่ง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญคณะนี้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหาร งานบุคคลกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง และเกลี่ยอัตรากำลังให้สอดคล้อง กับนโยบายการบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งการพิจารณาความดีความชอบ การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และร้องทุกข์ การส่งเสริมขวัญกำลังใจ การปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรมตลอดจนการกำกับดูแลติดตามและประเมินผล
การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา



กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่
สำนักงาน ก.ค.ศ.

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 6 ก.ย. 2553

Wednesday, September 1, 2010

เริ่มชัดเจน...การแบ่งส่วนราชการภายในของ สพม.-สพป.ออกเป็นประกาศกระทรวงฯ

คาดว่าเร็วๆนี้ จะมีการออกประกาศกระทรวงเพื่อแบ่งส่วนราชการภายใน สพม.และสพป.

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเตรียมการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ซึ่งก่อนจะดำเนินการจัดบุคลากรลงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จะต้องจัดแบ่งส่วนราชการภายใน สพม.และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ให้ชัดเจนก่อน โดย สพฐ.ได้ยกร่างหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการของ สพม.และ สพป.เสร็จแล้ว โดยจะยึดโครงสร้างของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เดิมเป็นพื้นฐาน แต่จะมีจุดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คือ จะตัดกลุ่มงานส่งเสริมประสิทธิภาพออกไป และกลุ่มอำนวยการจะมี 2 ส่วน คือ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ ส่วนกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนจะมีเฉพาะ สพป.จะไม่มีใน สพม.เนื่องจาก สพป.จะมีความพร้อม และงานจะต่อเนื่อง ดังนั้น จึงต้องให้งานส่งเสริมการศึกษาเอกชนมาอยู่ใน สพป.ทั้งนี้ โครงสร้าง สพม.จะประกอบด้วย ผู้อำนวยการ (ผอ.) สพม. รอง ผอ.สพม. กลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา และหน่วยตรวจสอบภายใน

นายชินภัทรกล่าวว่า หลังจากนี้ สพฐ.จะเสนอการแบ่งส่วนราชการของ สพม.และ สพป.ให้ที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เห็นชอบในวันที่ 7 กันยายน หลังจากนี้ จะเสนอนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงนามประกาศการแบ่งส่วนราชการของ สพม.และ สพป.ต่อไป จากนั้น สพฐ.จะส่งเรื่องการแบ่งส่วนราชการไปให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลัง ซึ่งจะต้องเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณา และอนุมัติต่อไป ทั้งนี้ ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านการบริหารงานบุคคลของ สพม.จะอยู่ในการดูแลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

"การเตรียมการอื่นๆ นั้น สพฐ.ได้ทำหนังสือเวียนเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกาศเขตพื้นที่การศึกษามัธยมฯ และเขตพื้นที่การประถม ไปที่ สพม.และ สพป.แล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ส่วนการสำรวจความเห็นของบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาเดิมมาสังกัด สพม.นั้น มีบุคลากรแจ้งความจำนงเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ สพฐ.จะต้องมาพิจารณาตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงงานราชการ ไม่ใช่ว่าสมัครมาอยู่ สพม.กันเยอะจนเกินไป เพราะยังต้องมีบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ใน สพป." นายชินภัทรกล่าว




ที่มา - มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1283336058&grpid=&catid=04

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นเข้าพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 

ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยะเกียรติ กำลังเดินเข้าห้องประชุม 201 อาหารรัฐสภา2 เพื่อรับข้อมูลและพูดคุยช่วยเหลือ ผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่น โดยมีตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษาจาก เชียงใหม่ ลำพูน น่าน ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ เพชรบุรี สระบุรี(5 ท่าน) และกรุงเทพมหานคร ขาดจังหวัดใด ขออภัยด้วยครับ พี่ๆเพื่อนๆ ผู้บริหารฯท่านใดที่ไปในวันที่ 1 กันยายน 2553 ที่รัฐสภา หากไม่ได้เอ่ยนามก็ขออภัยด้วยเช่นกันครับ
Posted by Picasa

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 


ตัวแทนชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นแห่งประเทศไทย กำลังมอบเอกสารเสนอแนวทางให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการท่านชินวรณ์ บุณยะเกียรติ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ ซึ่งช่วงเช้า ประธานชมรมฯ ได้เข้าพบท่าน เลขาฯ สพฐ.ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน มาแล้ว ขณะที่ท่านรัฐมนตรี ให้ความหวังกับพวกเราทุกคน ว่า ไม่น่าเรียกชื่อชมรมว่าผู้บริหารพลัดถิ่น เพราะ สพฐ.ต้องดูแลใน 3 แนวทาง มีช่องทางในการกลับมาอยู่มัธยมเหมือนเดิมอยู่แล้ว
Posted by Picasa

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 

ท่านประธานชมรม ดร.สมนึก นาห้วยทราย มอบกระเช้าดอกไม้แด่ท่านรัฐมนตรี ชินวรณ์ บุณยะเกียรติ ก่อนเสนอแนวทางช่วยเหลือให้ผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่น ได้กลับสู่สายมัธยมเหมือนเดิม
Posted by Picasa

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่น เข้าพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 
Posted by Picasa



ผู้บริหารมัธยมศึกษาพลัดถิ่นจำนวน ๓๐ คน จากตัวแทนภาคเหนือ เชียงใหม่ ลำพูน ตัวแทนภาคกลาง กรุงเทพฯ สระบุรี ตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากอำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ตัวแทนภาคใต้ จาก เพชรบุรี ขณะรับฟังแนวทางจากท่านรัฐมนตรี

ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่น เข้าพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ






ในภาพผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นสระบุรี


เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นแห่งประเทศไทย นำโดย ดร.สมนึก นาห้วยทราย พร้อมคณะผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่นจากจังหวัดต่างๆจำนวน ๓๐ คน เข้าพบผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ
พบท่านเลขาฯ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ช่วงเช้า และเวลา 11.00 น.ได้เข้าพบท่านรัฐมนตรี ชินวรณ์ บุณยะเกียรติ

สรุปข้อหารือและเสนอกฏเกณฑ์ต่างๆ และหากไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ผู้บริหารพลัดถิ่นจะได้กลับสายมัธยมใน ๓ แนวทางคือ
๑.ย้ายปกติ สัดส่วนย้ายและบรรจุแต่งตั้งรองฯมัธยม ที่สอบได้ อาจตกลงกันครึ่งทาง เช่น 50/50 (หมายถึงว่าจะมีการสอบใหม่เฉพาะมัธยมแน่นอนเร็วๆนี้ )ไม่รวมกรณีผู้ขึ้นบัญชีภาค ก ภาค ข และภาค ค ของ สพฐ. ประเด็นหลังนี้ยังมีข้อถกเถียง
๒.คัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่ง(สอบคัดเลือก)รวมกับกลุ่มรองผู้อำนวยการสายมัธยม(เป็นผอ.มัธยมพลัดถิ่นแต่ไปสอบเข้าตำแหน่งผอ.มัธยม)
๓.เข้าสู่ตำแหน่งอื่นๆตามหลักเกณฑ์ เช่น เข้าสอบคัดเลือกในการสรรหารองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(เฉพาะผอ.มัธยมพลัดถิ่น วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ)ซึ่งจะมีการสรรหาในเร็วๆนี้เช่นกัน

ท่านรัฐมนตรีได้ให้ความหวังกับผอ.มัธยมพลัดถิ่น ว่า ความจริงไม่น่าจะเรียกว่า ชมรมผู้บริหารมัธยมพลัดถิ่น เพราะว่าได้ไปใช้วิชาการบริหารให้เกิดประโยชน์ในโรงเรียนขนาดเล็กก่อน และผู้หลักผู้ใหญ่ไม่ทอดทิ้งพวกเราแน่นอน